ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย
เป็นที่ตั้งของเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา อาทิ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ เมืองเธริง หรือ
เมืองเทิง เป็นต้น [3]
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง
และแม่น้ำโขง
เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3
ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน
จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้[4] ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3
ประวัติศาสตร์
สมัยราชวงศ์มังราย
พงศาวดารโยนกว่าพญามังรายสร้างขึ้น ณ
ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ.
1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง
และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860
ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก
จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ.
1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น
เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม
หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม
ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า
ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ.
2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ
ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม
ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า
ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน
ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247
เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก
เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่
ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย
ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน
เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้
อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย
อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย
อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ
อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ
เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
อาณาเขต
และ ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง
และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า
และจังหวัดเชียงใหม่
สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิ ในห้วงปี 2545 – 2550 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี
24.81 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.16 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย
16.90 ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยปีละ 1,755 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2550 จำนวน 2,041.7 มิลลิเมตร น้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน
1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 140 วันต่อปี
ตราประจำจังหวัดเชียงราย
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ
๕ ต.ค.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ดอกพวงแสด