วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
วัดพระแก้ว เชียงราย
วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว  ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์
ภูชี้ฟ้า อ. เทิง จ. เชียงราย
                  ภูชี้ฟ้า   เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดเชียงราย   และเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางที่ชอบความสวยงามของธรรมชาติและยังพอเรี่ยวแรงที่ฝันอยากจะมาสัมผัสกับความงามของสถานที่แห่งนี้สักครั้งในชีวิต   ภูชี้ฟ้า   ถ้าพูดถึงความหนาวเย็นก็คงจะไม่แตกตางอะไรมากหนักกับหลาย ๆ ดอยสูงทางภาคเหนือของไทย   แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับยอดภูแห่งนี้มาตลอดและสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาพบเห็น   ก็คือ   ความสวยงามแปลกตาของหน้าผาสูงที่ยื่นเด่นลอยออกไปในอากาศ   สายลมหนาวที่วูบผ่านมาแล้วเลยผ่านไป   ทิวทัศน์เบื้องล่างคือ ภาพทะเลหมอกและภาพของดวงอาทิตย์สีแดง ที่กำลังเบียดเสียดแทรกตัวออกมาท่ามกลางทะเลหมอกหนา และหุบเขาน้อยใหญ่   ภาพความสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้   ได้กลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้หลั่งไหลมาที่นี่   ในแต่ละปีเมื่อลมหนาวมาเยือนจะมีนักท่องเที่ยวมากมายจากทั่วทุกสารทิศ   เดินทางมาสัมผัสกับอากาศหนาวและชมความงามของทะเลหมอกยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   อย่างไม่ขาดสาย   โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว   บนยอดดอยสูงแห่งนี้แทบไม่มีที่ยืนถ่ายรูป   ทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   ได้รับการกล่าวขานว่าสวยงามกว่าที่ใด ๆ ในประเทศ   บริเวณทางเดินขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้า   เป็นทุ่งหญ้ากว้าง   มีทุ่งดอกโคลงเคลงขึ้นแซมเป็นระยะ   ออกดอกสีชมพูอมม่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม มกราคม    ช่วงเพิ่มความสวยงามให้กับยอดภูแห่งนี้ได้อีกไม่ใช่น้อย   ระหว่างทางขึ้นมายังภูชี้ฟ้ายังต้องผ่านภูเขาที่มีวิวทิวทัศน์งดงาม หากมาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะได้ชมความงามของดงดอกเสี้ยวที่ออกดอกสีขาวอมชมพูบานสะพรั่งระหว่างทางขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
                อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน
ไร่แม่ฟ้าหลวง 
อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์อูปคำไปอีก 1 กิโลเมตร เดิมใช้จัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งและสวนไม้ดอกไม้หอมหายากนานาชนิด มีหอคำซึ่งเป็นอาคารไม้สักที่รวบรวมสัตภัณฑ์หรือเชิงเทียนโบราณและเป็นที่ประดิษฐานพระพราโต้ พระไม้โบราณ เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท
ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
 ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 13 บนทางหลวงหมายเลข 1089 สายแม่จัน-ท่าตอน ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 42 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ บนเนื้อที่กว่า 400 ไร่ แสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทย ลาว จีน(ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมรับประทานอาหารเที่ยงเวลา 12.00-13.00 น. คนละ 350 บาท จัดแสดงรอบพิเศษไม่ต่ำกว่า 30 คน เวลา 18.00-19.00 น. คนละ 380 บาท
ดอยแม่สลอง
 เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาว จะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลยจากศูนย์ฯ ไปอีก 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยก ทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเองให้ขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง จุดน่าสนใจบนดอยแม่สลอง: ชมไร่ชาและศึกษาวิธีการผลิตชา ขี่ม้าชมทิวทัศน์รอบหมู่บ้านอาข่า(หมู่บ้านเจียงจาใส) และอนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ศึกษาเรื่องราว ประวัติของชาวดอยแม่สลอง มีไกด์นำชม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 20 บาท 

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย
แกงฮังเล 
                  แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า ฮินแล หรือ ฮังแล นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก ฮินแล หรือ ฮังแล นั้น
ชาวพม่าเรียก แวะตาฮีน ซึ่งแปลว่าแกงหมู 
แกงโฮ๊ะ 

                 แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้ 
ข้าวซอย
               ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส 
ขนมจีนน้ำเงี้ยว   
                 ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน, เลือดหมู, เนื้อหมู, มะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น

เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงรายมีสภาพอากาศเป็นป่าเขา ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทยแนวชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดเชียงรายมีผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์เข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐาน เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยภูเขา และคนไทยพื้นราบ และชาวจีนฮ่อ ที่เข้ามาอพยพอาศัยอยู่ตามบนดอยสูงหลายๆแห่ง ตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตร เลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงรายได้ มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมจากเชียงรายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีชื่อเสียงทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศเดินทางมาจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมากเพื่อมาชื่นชมและสัมผัส ศิลปะ อาหาร การเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เที่ยวภาคเหนืออีกจังหวัดหนึ่ง
เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ปี 2542 ขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ลิ้นจี่ ลำไย เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวย ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิต ภาคบริการ นักท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อยจากภาวะความไม่สงบตามแนวชายแดนและการปิดด่านของพม่า ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้หลายชนิดแสดงทิศทางปรับตัวดีขึ้น ส่วนทางด้านฐานะการคลังมีการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น โดยมีการขาดดุลเงินในงบประมาณมากขึ้น ขณะที่ดุลเงินสดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน การค้าชายแดนเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ มีเพียงสาขาการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ฟื้นตัวแต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และ ฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 408,921 เมตริกตัน จากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ลิ้นจี่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เป็น 16,168 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอทำให้ติดผลเพิ่มขึ้นมากหลังจากลดลงเป็นประวัติการณ์เมื่อปีก่อนเช่นเดียวกับ ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่าตัว เป็น 11,116 เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,249 เมตริกตัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ หอมแดงและถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 4.2 เป็น 3,823 เมตริกตัน และ 6,157 เมตริกตัน ตามลำดับ ขณะที่ขิงและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 45.9 และร้อยละ 1.4 เหลือ 40,197 เมตริกตัน และ 186,467 เมตริกตัน ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก
            พืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
ลิ้นจี้
ลำไย
ถั่วเหลือง

ข้าวนาปี




ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี
แห่พระแวดเวียง

                   ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
ปอยหลวง
                  งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์
                  จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน
งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
                 เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย
งานไหว้สาพญามังราย
                     จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์
เป็งปุ๊ด
                    “เป็งปุ๊ดหรือ เพ็ญพุธ เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงราย

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา อาทิ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ เมืองเธริง หรือ เมืองเทิง เป็นต้น [3] ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้[4] ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3
ประวัติศาสตร์
สมัยราชวงศ์มังราย
พงศาวดารโยนกว่าพญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
อาณาเขต และ ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่
สภาพภูมิอากาศ
                อุณหภูมิ ในห้วงปี 2545 – 2550 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 24.81 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.16 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 16.90 ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยปีละ 1,755 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2550 จำนวน 2,041.7 มิลลิเมตร น้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 140 วันต่อปี
ตราประจำจังหวัดเชียงราย
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ
  ต.ค.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
 
ดอกพวงแสด